Login
ลืมรหัสผ่านหรือเข้าสู่ระบบไม่ได้? คลิกที่นี่
เรื่องเล่า...ชาวโรงแรม
ปกติในธุรกิจโรงแรมเราจะเห็นการซื้อขายกิจการโรงแรมกันบ้างประปรายแต่ไม่ได้ดูใหญ่โตหรือสร้างแรงกระเพื่อมในแวงธุรกิจมากเท่าไหร่นัก แต่ทันทีที่ Marriott Inc. จากประเทศสหรัฐอเมริกา ประกาศการเข้าซื้อกิจการของ Starwood Hotels ด้วยวงเงินมากถึง 12.2 พันล้านเหรียญ. นับว่าเป็นสิ่งที่ค่อนข้างจะสร้างความประหลาดใจและเรียกได้ว่าเป็น Big Surprise ในช่วงสิ้นปี 2015 สำหรับแวดวงธุรกิจการโรงแรมและการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นแวดวงอุตสาหกรรมที่มีมูลค่ารวมกันทั่วโลกน่าถึงกว่าแสนล้านเหรียญและอาจเพิ่มขึ้นเป็นหลักล้านล้านเหรียญได้ในอนาคตอันใกล้นี้ สิ่งที่ Marriott Inc. จะได้รับจากการซื้อ Starwood Hotels. หลักๆ ก็จะเป็น Brand โรงแรมต่างๆ ในเครือ Starwood ที่ต้องบอกได้เลยว่าส่วนใหญ่เป็น Brand ระดับ Luxury อันใกล้เคียงกับ Business Model ของ Marriott มากที่สุด ตัวอย่าง Brand ที่เห็นได้ชัดในบ้านเราก็จะประกอบไปด้วย Sheraton, Westin, St.Regis, Le Meridien, W Hotels, Aloft, และ Four Points, ยังไม่นับรวม Brand อื่นๆ ที่ยังไม่ได้เข้ามาทำตลาดในบ้านเราอีก ซึ่งก็แน่นอนว่าหลังจากการเข้าซื้อกิจการ Brand ต่างๆ ทั้งหมดเหล่านี้ก็จะมาอยู่ภายใต้การครอบครองและบริหารของกลุ่ม Marriott Inc. ส่วนทีมงานผู้บริหารของ Starwood ในระดับสูงก็คงต้องปรับเปลี่ยนกันบ้างเพื่อสร้างและปรับเปลี่ยนรูปแบบการบริหารให้ใกล้เคียงกับ Core Value ของ Marriott ในส่วนของ GM ตาม Property ของ Starwood นั้น คิดว่าทาง Marriott คงจะใช้การ Evaluation กันเป็นรายบุคคลและขึ้นอยู่กับว่า GM แต่ละคนจะยอมรับการเปลี่ยนแปลงและปรับตัวได้มากน้อยแค่ไหน การซื้อกิจการครั้งนี้นอกจากจะเป็นการเติมเต็มและตอกย้ำความเป็นผู้นำการบริหารโรงแรมระดับ Luxury ตาม Business Model ที่วางไว้ของ Marriott แล้ว ยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่ถือเป็นหัวใจหลักของการประกอบธุรกิจและถือเป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่ทุกธุรกิจต้องการ นั่นคือฐานลูกค้าที่เป็น Members ที่เกี่ยวข้องในเรื่องของการมี Brand Royalty ที่แข็งแกร่งและพร้อมจะสนับสนุนธุรกิจอยู่ตลอดเวลา ซึ่งในการซื้อกิจการในครั้งนี้ฐานลูกค้าที่เป็น Member ของ Starwood ทั้งหมด จะกลายเป็นฐานและกลุ่มลูกค้าใหม่ของ Marriott รวมทั้ง Property และ Brand ทั้งหมดของ Starwood ด้วยเช่นกัน หลังการเข้าซื้อกิจการ Marriott จะกลายเป็น Brand โรงแรมที่มี Supply จำนวนห้องพักมากที่สุดในโลกกว่า 1.1 ล้านห้อง มีทรัพย์สินภายใต้การบริการทั้งหมดรวมกว่า 5,500 แห่ง โดยจะแบ่งเป็นทรัพย์สินของ Marriott 4,300 แห่งและ Starwood 1,270 แห่ง ในกว่า 100 ประเทศทั่วโลก นอกจากนี้ยังทำให้มีจำนวน Member รวมกันทั้งหมดกว่า 75 ล้านคน โดยแบ่งเป็นของ Marriott 54 ล้านคนและ Starwood 21 ล้านคน และปิดท้ายที่ Marriott จะมี Brand ภายใต้การบริหารหลังการซื้อกิจการรวมทั้งหมดกว่า 30 Brands และหลังจากการเข้าซื้อกิจการของ Marriott ได้ไม่นาน Accor Hospitality ซึ่งเป็น Brand โรงแรมสัญชาติฝรั่งเศส ได้ทำการตอบโต้เพื่อรักษา Market Share ของตัวเองในด้านธุรกิจการโรงแรมและการท่องเที่ยวเอาไว้และเพิ่ม Supply ด้านห้องพักของตัวเอง โดยการประกาศเข้าซื้อกิจการด้วยวิธีการชำระเป็นเงินสด 840 ล้านเหรียญและชำระเป็นหุ้นของ Accor Hospitality ในตลาดหลักทรัพย์ฝรั่งเศสให้กับ บริษัท Qatar Investment Authority (QIA), Kingdom Holding Company (KHC) ของซาอุดีอาระเบีย และ Oxford Property เพื่อใช้ในการเข้าซื้อกิจการบริษัท FRHI Holding Company Limited บริษัทแม่ของ Fairmont Hotels And Resorts, Raffle Hotel, และ Swissotel โดยในส่วนของการชำระเป็นหุ้นนี้จะมีสัดส่วนรวมทั้งสิ้น 46.7 ล้านหุ้น และหลังการชำระหุ้นแล้วจะทำให้ QIA และ KHC ถือหุ้น 10.5% และ 5.8% ใน Accor ตามลำดับ การซื้อกิจการครั้งนี้ Accor ต้องการเติมเต็มตลาดโรงแรมระดับ Luxury ของตนเองเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากหากพูดถึงผู้บริหารโรงแรมที่ได้รับการยอมรับในระดับสากลและมีชื่อเสียงในการบริหารโรงแรมระดับ 3-4 ดาวครึ่ง ชื่อของ Accor ย่อมเป็นผู้นำในตลาดนี้อย่างไม่ต้องสงสัย แต่ในตลาดระดับ Luxury ต้องยอมรับว่า Accor ยังเป็นรอง Marriott ค่อนข้างมาก ทั้งในด้านของประสบการณ์และการบริหารการจัดการในตลาดนี้ ปัจจุบัน Accor มีโรงแรมในเครือทั้งหมด 3,800 โรงแรม มีจำนวนห้องพัก 500,000 ห้อง ใน 92 ประเทศทั่วโลก (ข้อมูล ณ 19 ธ.ค. 2558) หลังเข้าซื้อกิจการจะทำให้ Accor เริ่มต้นในการแข่งขันตลาดระดับ Luxury กับ Marriott อย่างจริงจังมากขึ้น และนับเป็นการก้าวกระโดดเข้ามาแข่งขันใน Market Segment ของ Luxury Hotel อย่างรวดเร็วเพราะ Accor ไม่ต้องเสียเวลาในการสร้าง Brand ระดับ Luxury ใหม่ในเครือของตนเองเพื่อที่จะมาแข่งกับ Marriott ที่อาจจะต้องใช้เวลานานกว่าที่ผู้บริโภคจะรู้จักและกว่าที่ Brand ดังกล่าวจะติดตลาดและยังทำให้สิ้นเปลืองงบประมาณในการทำตลาดใหม่อีกหลายเท่าตัว การซื้อกิจการครั้งนี้ฝ่ายบริหารของ Accor คงเล็งเห็นแล้วว่า Brand ระดับ Luxury ของ FRHI จะช่วยเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในตลาดระดับ Luxury จาก Marriott ได้ดียิ่งกว่าและคุ้มค่ากว่าการสร้าง Brand ใหม่ ในส่วนของ FRHI มี Brand โรงแรมระดับหรูชั้นนำอยู่จำนวน 3 Brand คือ Fairmont, Raffle, และ Swissotel นอกจากนี้ FRHI ยังเป็นเจ้าของโรงแรมและ Resorts 155 แห่ง (40 แห่งอยู่ระหว่างการพัฒนา) โดยกระจายอยู่ใน 34 ประเทศใน 5 ทวีป 42 แห่งในอเมริกาเหนือ 2 แห่งในอเมริกาใต้ 26 แห่งในยุโรป 17 แห่งใน Africa, ตะวันออกกลาง และ 28 แห่งใน Asia-Pacific โรงแรมของ FRHI ส่วนใหญ่จะอยู่ในแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของโลก และมีบริหารภายใต้สัญญาระยะยาวเฉลี่ย 30 ปี (108 แห่ง) โรงแรม 6 แห่งเป็นการเช่า และ 1 แห่งเป็นเจ้าของเอง จำนวนห้องพักของ FRHI มีจำนวน 56,000 ห้อง (ประมาณ 13,000 ห้องอยู่ระหว่างการพัฒนา) และมีพนักงานกว่า 45,000 คน สำหรับชาวแวดวงอุตสาหกรรมการโรงแรมและการท่องเที่ยว สิ่งหนึ่งที่เห็นได้ชัดคือการหันมาดำเนินการขยายกิจการในช่วงที่เศรษฐกิจทั่วโลกต่างพากันดิ่งเหวแบบนี้ ย่อมแสดงให้เห็นแล้วว่าไม่ว่าจะเกิดสภาวะที่เป็นวิกฤติทางเศรษฐกิจแค่ไหน อุตสาหกรรมการโรงแรมฯ ยังคงดำเนินไปได้อย่างแข็งแกร่งและฟื้นตัวได้เร็ว เพราะโดยธรรมชาติของมนุษย์การท่องเที่ยวไปยังสถานที่ต่างๆ ถือเป็นการพักผ่อนที่ดีที่สุด และในปัจจุบันการเกิดขึ้นของสายการบิน Low Cost Airline ที่เพิ่มขึ้นเป็นดอกเห็ด ทำให้ผู้คนสามารถเดินทางได้ง่ายและสะดวกขึ้น ประหยัดขึ้น จนทำให้การเดินทางท่องเที่ยวของผู้คนในปัจจุบันเป็นเรื่องธรรมดาๆ ที่สามารถกระทำกันได้ง่ายๆ เพราะมีตัวเลือกและวิธีการเดินทางที่สะดวกสบายมากขึ้นกว่าในอดีต ตัวผลักดันปริมาณนักท่องเที่ยวที่เป็นสิ่งขับเคลื่อนอุตสาหกรรมการโรงแรมฯ ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งในอนาคตคือ การยกเว้นข้อจำกัดทางด้านเอกสารราชการระหว่างประเทศ ที่มีแนวโน้มผ่อนคลายมากขึ้นจากการเปิดเสรีของหลายๆ ภูมิภาค ทำให้อุตสาหกรรมการโรงแรมฯ ได้รับอานิสงส์ไปในตัวโดยที่แทบจะไม่ต้องลงทุนอะไรเลย ยังไม่รวมระบบคมนาคมอื่นๆ ในปัจจุบันและอนาคต ที่จะทำให้การเชื่อมต่อกันระหว่างประเทศสะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น เช่น ระบบรถไฟ ระบบเรือ หรือระบบอื่นทั้งทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ เรียกได้ว่าในสถานการณ์ปัจจุบันหากผู้ประกอบการโรงแรมใดที่เห็นโอกาสก่อนแล้วรีบคว้าเอาไว้ ก็อาจะได้เปรียบกว่าผู้ประกอบการที่ยังคงรอความชัดเจน (ที่ไม่เคยจะชัดเจน) ในสภาพเศรษฐกิจปัจจุบัน จนอาจทำให้พลาดโอกาสไป สำหรับการเข้าซื้อกิจการโรงแรมที่มีมูลค่ามหาศาลขนาดนี้ ต้องยอมรับว่าเราคงไม่ได้เห็นกันมาก่อนหน้านี้บ่อยนัก เพราะหากจะมีการซื้อกิจการก็จะเป็นเพียงการซื้อแบบทีละโรงแรมทีละแห่ง ซึ่งก็น่าคิดว่าเหตุใดทั้งสอง Brand จากคนละทวีปอย่าง สหรัฐอเมริกา กับ ฝรั่งเศส จากทวีปยุโรป ถึงดำเนินการในลักษณะที่เรียกได้ว่าแทบจะสร้างความประหลาดใจให้กับคนในแวดวงโรงแรมได้ขนาดนี้ ในขณะที่สภาพเศรษฐกิจของทั้งสองทวีปยังไม่ฟื้นตัวดีนักและยังไม่ชัดเจน คงไม่เคยมีใครคิดว่า Starwood ที่ได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งใน Brand โรงแรมที่แข็งแกร่งที่สุดในโลกจะขายกิจการให้กับคู่แข่งอย่าง Marriott แม้ว่ามันจะเป็นเรื่องที่เป็นปกติในแวดวงธุรกิจการค้าและการลงทุนเองก็ตามแต่มันก็น่าศึกษาตรงที่ทำไมจึงเกิดการซื้อกิจการมูลค่ามหาศาลนี้ขึ้นในช่วงที่สภาพเศรษฐกิจของโลกกำลังชะลอตัวอยู่แบบนี้ จะด้วยเหตุผลที่ต้องการเพิ่ม Supply ให้กับธุรกิจของตนเอง? หรือเล็งเห็นบางสิ่งบางอย่าง เช่น โอกาสจากการเพิ่มขึ้นของจำนวนนักท่องเที่ยวและการเติบโตของธุรกิจที่เกื้อหนุนกันอย่างสายการบิน Low Cost Airline แต่ก็ต้องยอมรับว่าทั้งสอง Brand กำลังสร้างความกดดันและเร่งให้ Brand อื่นๆ ที่อยู่ข้างหลังต้องหันกลับมาคิดทบทวนแบบคิดใหม่ ทำใหม่ กับสถานภาพตัวเองในธุรกิจโรงแรมมากขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงมิได้  
9,938 View
Hotel Man